"การเดินทางท่องเที่ยวนับจากนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ก่อนช่วง Covid-19
การเดินทางท่องเที่ยวนับจากนี้จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ทั้งจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวตั้งแต่ก่อนช่วง Covid-19 การเปลี่ยนผ่านของ generation โดยมี Covid-19 เป็นตัวเร่งที่ทำให้ทุกอย่างเห็นได้ชัดเจนขึ้น แม้กระทั่งการเดินทางแบบ group หรือ tour ที่สมัยก่อนนิยมกันเนื่องจากความสะดวก และยังช่วยประหยัดต้นทุนการเดินทางหลาย ๆ อย่างได้ ก็จะเริ่มเห็นว่านับตั้งแต่ที่การเดินทาง การค้นหาข้อมูล การจองตั๋ว ที่พัก ต่าง ๆ ง่ายมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยตัวเองกับครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ในภาษาการท่องเที่ยวจะเรียกสั้น ๆ ว่า FIT (Free Independent Traveller หรือ Free Individual Traveller) มีสัดส่วนมากขึ้น ยิ่งเฉพาะนับตั้งแต่เกิด Covid-19 ขึ้น หลายธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้รองรับกับกลุ่มของนักท่องเที่ยวและเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้
health and hygiene (สุขภาพ สุขอนามัย) ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดมากว่าคนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น ทั้งเทรนด์การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ผลิตออกมา โดย Covid-19 เป็นตัวกระตุ้นอย่างดีให้คนใส่ใจสุขภาพอยู่แล้ว หรือแม้กระทั่งคนที่ยังไม่ได้ใส่ใจมาก เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ ความสะอาดจากสิ่งรอบตัวมากขึ้น ในมุมของการท่องเที่ยวก็เช่นกัน นักท่องเที่ยวเริ่มที่จะเลือกท่องเที่ยวในสถานที่ที่สภาพแวดล้อมที่มีความสะอาด มีการจัดการเรื่องสุขอนามัยที่ดี
sustainability (ความยั่งยืน) คำว่า global warming หรือ climate changes เป็นคำที่ติดหูเรามานานมากแล้ว มีบุคคลจากหลายวงการออกมากระตุ้นให้ทั่วโลกหันมาสนใจในเรื่องนี้ โดยในตอนนี้คนรุ่นที่เป็น generation Y ลงมา ยิ่งให้ความสำคัญมากขึ้น และโดยสิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเอง ซึ่งการปรับเปลี่ยนนี้เองที่ทำให้การเลือกสินค้า เลือกบริการ และการเลือกเที่ยว ก็ปรับเปลี่ยนไปด้วย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นสิ่งที่หลายธุรกิจท่องเที่ยวเริ่มนำมาทำ campaign เพื่อดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวเหล่านี้
tion tion (ชั่นชั่น) ตั้งแต่มี Covid-19 มา เราเริ่มที่จะได้ยินคำเทรนด์ที่มีคำต่อท้ายว่า tion ซึ่งก็คือรูปแบบการท่องเที่ยวที่เริ่มเกิดขึ้นในช่วง Covid-19 นี้ แบ่งออกมาเป็น 3 เทรนด์
staycation — จริง ๆ แล้ว staycation เริ่มนิยมจากวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐ และในยุโรปช่วงปี 2007 - 2010 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และจากค่าเงินบางประเทศที่อ่อนลงมาก ก็ไม่อยากที่จะเดินทางข้ามประเทศ จึงเริ่มเกิดการท่องเท่ียวแบบ staycation มากขึ้น ซึ่ง keyword ของมันคือคำว่า “ใกล้” ส่วน vacation คือการพักร้อน หาความสุข หาประสบการณ์ใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อรวมกันจึงเกิดเป็นการท่องเที่ยวที่เดินทางไม่ไกลจากเมืองที่พัก หรืออาจจะเป็นเที่ยวในเมืองของตัวเองก็ได้ ซึ่งเทรนด์นี้ก็ยิ่งมาแรงในช่วง Covid-19 เพราะว่าคนยังกังวลในเรื่องของการเดินทาง โดยคนกรุงเทพฯอาจจะเดินทางขับรถไปเที่ยวในจังหวัดใกล้ ๆ หรือแม้แต่เที่ยวในสถานที่ใหม่ ๆ ที่ไม่เคยไปในกรุงเทพ อาจจะเปลี่ยนไปค้างคืนโรงแรมวิวสวย ๆ รอบกรุงเทพแทนที่จะอยู่บ้าน
workation — ก่อนหน้านี้หลายคนอาจจะไม่คิดว่า work กับ vacation อยู่ด้วยกันได้ อย่างมากก็คงเป็นแค่ business trip ที่เพิ่มการเที่ยวนิดหน่อย และก็ยังไม่มีใครกล้าพิสูจน์ว่ามันทำได้มั้ย แต่เมื่อมี Covid-19 ทำให้การทำงานที่ออฟฟิศเป็นเรื่องยาก ทุกบริษัทต้องให้พนักงาน work from home จึงเหมือนเป็นการพิสูจน์กลาย ๆ ว่าจริง ๆ แล้วออฟฟิศที่ก่อนหน้านี้เหมือนจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อต้องทำงาน ก็ถูกลดบทบาทลงไป เนื่องจากพนักงานก็สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานที่แห่งเดียวกัน เส้นแบ่งระหว่าง work กับ vacation จึงลดลงไป ให้คนสามารถทำงานร่วมกันได้จากที่ไหนก็ได้บนโลก
digital nomad — คือกลุ่มคนที่มีอิสระในสถานที่ทำงานที่สูงมาก ออฟฟิศไม่มีความจำเป็นสำหรับคนกลุ่มนี้ พวกเขาสามารถเดินทางไปเรื่อย ๆ รอบโลก และทำงานไปพร้อมกันได้ ซึ่งเป็น lifestyle ที่จะเป็นท่ีนิยมมากขึ้นต่อจากนี้
digitalization (เทคโนโลยี) คำนี้กลายเป็นคำติดหูในทุกอุตสาหกรรมของโลกธุรกิจ ซึ่งทุกธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมือน Covid-19 เป็นเหมือนยาเร่งให้เทคโนโลยีที่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นในอนาคต กลายเป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายในตอนนี้ไปแล้ว ในโลกของการท่องเท่ียวก็เช่นกัน หลายธุรกิจเริ่มนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อทำให้เกิดความพึงพอใจต่อลูกค้าให้มากที่สุด ทั้งสิ่งที่ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ชัดเจนเลย อย่างเช่นการ check-in online ของสายการบินหรือโรงแรม การเลือกห้องพักแบบ virtual (เสมือนจริง) จนไปถึงสิ่งที่ลูกค้าไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การนำเอาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้ามาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการกลุ่มลูกค้าให้มากที่สุด
Haah (Hotel as a Hub) ในสมัยก่อน ที่พัก เป็นสิ่งที่จำเป็นเกือบจะที่สุดที่ลูกค้าจะต้องหาเป็นอย่างแรก ๆ เมื่อจะไปเที่ยว แต่ด้วยการเข้าถึงเทคโนโลยี รวมถึงการมี platform ต่าง ๆ ที่เป็น marketplace เกิดขึ้นเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง OTAs (Online Travel Agency) เช่น Agoda, Booking.com, Expedia, Traveloka หรือแม้กระทั่งการปล่อยเช่าที่พักอย่าง Airbnb ก็ทำให้ห้องพักเกิดขึ้นมากมาย และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบที่พักแต่ละที่ผ่านทาง smartphone ได้เลย เมื่อรวมกับการที่คนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ generation Y ลงมา ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่ได้รับจากการเดินทาง ทำให้ความจำเป็นในการเลือกห้องพักเป็นอันดับแรก ๆ อาจจะลดน้อยลงกว่าสมัยก่อน ยกตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวบางกลุ่มอาจจะให้ความสำคัญกับประสบการณ์จากการรับประทานอาหาร ก็อาจจะให้ความสำคัญกับการจองร้านอาหารมากกว่า แล้วค่อยมาเลือกที่พักที่จะสะดวกต่อการเดินทางไปร้านอาหารต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น ที่พัก หรือ โรงแรม ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการเดินทาง ดังนั้นธุรกิจโรงแรมสามารถปรับมาเพื่อ support กลุ่มลูกค้าดังกล่าว โดยทำให้โรงแรมเปรียบเสมือน hub ที่สามารถ connect กับแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหารต่าง ๆ ได้ ทั้งการให้ข้อมูล การรับจอง เป็นต้น ซึ่งสามารถต่อยอดไปทำเป็น package ร่วมกับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ และเพิ่มการขายห้องพักให้กับธุรกิจโรงแรมได้ โดยลูกค้าก็จะได้ประสบการณ์มากขึ้นจากคำแนะนำที่เป็น local จากคนในพื้นที่โดยตรงได้อีกด้วย
personalization (การตลาดแบบเฉพาะบุคคล) การที่เราได้เก็บตัวอยู่บ้านในช่วง Covid-19 ก็คงทำให้หลาย ๆ คนได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น มีเวลาให้กับตัวเองมาขึ้น ทบทวน ศึกษา ความเป็นตัวเองมากขึ้น โดยเป้าหมายของการทำตลาดแบบ personalization คือการทำให้สินค้า หรือ บริการ เพื่อให้ “คนนั้น ๆ” ไม่ใช่กลุ่มนั้น ๆ พึงพอใจมากที่สุด โดยการนำข้อมูลของลูกค้ามาวิเคราะห์และคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้าคนนั้น ๆ เป็นรายบุคคล ยกตัวอย่างเช่น Netflix หรือ Youtube ที่มี algorithm ในการนำข้อมูลการเข้าชม content ต่าง ๆ มา recommend content ที่เหมาะสมกับลูกค้าคนนั้น ๆ ได้เลย ในธุรกิจโรงแรมก็สามารถทำได้ด้วยการเก็บข้อมูลการเข้าพัก การใช้บริการต่าง ๆ ของลูกค้ารายนั้น ๆ มาใช้ โดยธุรกิจโรงแรมอาจจะต้องมีการเทรนพนักงานของตัวเอง ให้ช่างสังเกต ศึกษาพฤติกรรมของลูกค้า และบันทึกข้อมูลลงไป ๆ เพื่อที่ในวันต่อ ๆ ไปของการเข้าพัก หรือครั้งต่อ ๆ ไป จะทำให้ลูกค้าท่านนั้น ๆ ได้รับการบริการแบบที่ตัวเองพึงพอใจได้ ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ให้ลองคิดว่าเราเข้าไปพักโรงแรมซักแห่งหนึ่ง โดยพนักงานต้อนรับ หรือพนักงานเสิร์ฟในห้องอาหาร สามารถจำชื่อเราได้ตั้งแต่วันแรก ๆ และยังรู้ว่าในมื้อเช้าเราชอบดื่มน้ำส้ม พร้อมกับไข่ดาวแบบไม่สุก เป็นต้น
จาก 6 เทรนด์เหล่านี้ นักท่องเที่ยว หรือ ธุรกิจท่องเที่ยว อาจจะได้สัมผัสกับตัวเองมาซักระยะแล้ว โดยธุรกิจท่องเที่ยวหลายแห่ง ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเพื่อรองรับกับเทรนด์เหล่านี้ไปแล้ว ถ้าหากว่าต้องการรับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์เหล่านี้ และการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมสามารถดูได้ที่คลิปด้านล่าง
Credit:
BOTLC
Skift
McKinsey
Marketing 5.0
เมื่อ TikTok จะไปทุกวงการไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจการโรงแรม
3 จังหวัดคลื่นระลอกใหม่ ขยายจุดท่องเที่ยวในประเทศ
Amazing Thailand 365
เปิด 5 อันดับประเทศเที่ยวไทยสูงสุด 17 ล้านคน
“ระบบสองราคา” นโยบายราคาสำหรับตลาดระหว่างประเทศ
GenZ Chinese ไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวของคนรุ่นใหม่ในจีนกำลังเปลี่ยนไป
ค่าเงินเยนอ่อนตัว กระทบการท่องเที่ยว และธุรกิจโรงแรม
Low Season have ‘เที่ยวเมืองรอง’
เพราะเหตุใด ทำไมเครื่องบินจึงตกหลุมอากาศ
Destination Dupe เทรนด์เที่ยวใหม่ เมืองทางเลือก
ส่อง 10 กลุ่มนักท่องเที่ยว ทำการตลาดช่วง Low Season
Necrotizing Fasciitis โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หวั่นกระทบการท่องเที่ยวญี่ปุ่น
Thailand Passport Visa Free Countries List 2024 คนไทยไปเที่ยวไหนไม่ต้องใช้วีซ่า ?
Hotel Booking เตือนภัยกลโกงมิจฉาชีพ
เหตุผลและการปรับตัวของโรงแรม เจาะตลาดนักท่องเที่ยว ‘มาเลเซีย’
Tourism Calendar 2024 for Guideline Planing
Tourism Calendar of events 2024
เช็คก่อนโอน! มิจฉาชีพปลอมเป็นโรงแรมระบาด
ปีมังกรทอง กับแนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป
Petsumer Marketing แนวทางการตลาดใหม่ของโรงแรม
6 เทคโนโลยีสุดล้ำ ที่โรงแรมไทยควรนำเข้ามาใช้
โรงแรมไม่หวั่นแม้ AI จะมาแทนที่คน
Go Green ที่พักยั่งยืน
หุ่นยนต์ AI นวัตกรรมแทนที่คน
Direct Booking, Direct Hotelsup🎉
HOTELSUP x UBU
‘เตียงนอนเลื่อนได้’ นวัตกรรมสำหรับการพักผ่อนสุดสร้างสรรค์
Automated Check in เทรนด์ที่อาจพบเจอได้ในโรงแรม Self - Service
Case Study : CREW Ranking
Pet Friendly Hotel
12 Online Travel Agents Your Hotel Should Be Working With
เทรนด์อนาคตของธุรกิจโรงแรมไทยในยุค 4.0
Go City ธุรกิจบัตรผ่านระดับโลก ลุยตลาดท่องเที่ยวในไทย เปิดตัว Go City Bangkok Pass
BLACK FRIDAY CAMPAIGN วันแห่งการลดแลกแจกแถม ช้อปปิ้งสนั่นเมือง
Poshtel อีกขั้นของ Hostel ที่กำลังมาแรง
V SHAPE การท่องเที่ยวฟื้นตัว
เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแต่ละสาย
Self-service ของโรงแรม
การท่องเที่ยวเพื่อการนอนหลับ การเที่ยวแบบใหม่เพื่อสุขภาพ (Sleep Tourism)
สัญญาณการท่องเที่ยวฟื้นตัว 2565
นโยบาย Zero Covid ในประเทศจีน กระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของไทยมากน้อยเพียงใด?
NEO Tourism เทรนด์ใหม่ยุคโควิด