ในการทำธุรกิจ เจ้าของโรงแรมย่อมมีเป้าหมายว่าอยากจะทำยอดขายห้องพักให้ได้สูง จึงตั้งดัชนีวัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator หรือ KPI) ของเดือน หรือปีเอาไว้สะสูง จนบางทีพนักงานเกิดความเครียด เป็นกังวลว่าจะทำยอดไม่ถึง ส่งผลให้เกิดการลาออก แล้วส่งผลต่อความลื่นไหลของงาน
การมีเป้าหมายเป็นเรื่องที่ดีของธุรกิจ แต่ไม่ใช่อยู่ดี ๆ อยากจะตั้งเป้าหมายขึ้นมาแบบไม่มีแบบแผน วันนี้ Hotelsup จะพูดถึง 5 เทคนิคกำหนดเป้าหมายแบบ Smart Goals
SMART เป็นตัวย่อที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดเป้าหมายภายในธุรกิจ
Specific (เฉพาะเจาะจง): เป้าหมายของโรงแรมควรเป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจง
Measurable (วัดผลได้): โรงแรมต้องมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับใช้วัดความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมาย เมื่อกำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้ ให้พิจารณาว่าโรงแรมจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์และกำหนด
Achievable (บรรลุผลได้จริง): เป้าหมายดังกล่าวทำได้จริงหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญอื่น ๆ ที่อาจมีในธุรกิจโรงแรม
Relevant (มีความเกี่ยวข้อง): การนึกถึงความเกี่ยวข้องของเป้าหมายภายในองค์กรในวงกว้างขึ้นก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ตั้งเป้าหมายให้โรงแรมเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ในโรงแรมก็มียอดจองห้องพักมากขึ้นด้วย
Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน): การกำหนดเวลาคือสิ่งที่สำคัญที่สุด โรงแรมต้องมีวันที่และเจาะจงว่างานใดที่สามารถทำได้สำเร็จภายในกรอบเวลานี้ กำหนดวันที่ครบกำหนดให้เป็นไปได้และยืดหยุ่น แม้ว่าความรู้สึกเร่งด่วนจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเปลี่ยนการตั้งเป้าหมายให้เป็นการแข่งกับเวลาจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับพนักงานในโรงแรม